วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติแม่วะ/ Mae Wa National Park

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติแม่วะอยู่ในบริเวณพื้นที่อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด มีทิวทัศน์ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ เช่น น้ำตกแม่วะ มีน้ำไหลตลอดปีเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเถินประมาณ 19 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติแม่วะ มีเนื้อที่ประมาณ 366,875 ไร่ หรือ 587 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2525 กองอุทยานแห่งชาติได้รับหนังสือจากจังหวัดลำปาง ความว่า ป่าดอยม่านกลางพื้นที่บริเวณป่าแม่วะ ห้วยแม่มอก ป่าดอยแม่ตอน ป่าขุนเจือ ป่าแม่เติน ป่าแม่ถอด ป่าแม่ลอง ป่าดอยฝั่งมั่น และท้องที่อำเภอเถิน และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีไม้สนเขาขึ้นอยู่มากมายสวยงามมากเป็นที่รู้จักกันทั่วไป รวมทั้งนักบินที่สังกัดในหน่วยบินเกษตร ก็ได้รายงานให้กองอุทยานแห่งชาติทราบถึงความสวยงามของพื้นที่ เหมาะที่จะจัดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณท้องที่ ป่าแม่วะ ห้วยแม่มอก ป่าดอยแม่ตอน ป่าดอยขุนเจือ ป่าแม่เติน แม่ถอด แม่ลอง ป่าดอยฝั่งมั่น และป่าดอยม่อนกลาง อำเภอเถิน และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เพื่อนำข้อมูลมาประกอบ การพิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยาน หรืออุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจพบว่า สภาพป่าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่วะ สภาพป่าสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาใหญ่สูงสลับซับซ้อน มีสภาพธรรมชาติสวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ และ มีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรที่จัดเป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วเนื่องจากพื้นที่นี้มีทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ชุกชุมด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและเพื่อความรื่นรมย์ของประชาชน จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุยานแห่งชาติตามในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ และป่าแม่วะ ป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด ป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา และตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เนื้อที่ 587 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 117 ตอนที่ 108 ก วันที่ 17 พฤศจิกายน 2543

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ทางตอนกลางถึงตอนใต้ของพื้นที่เป็นเทือกเขาสูง โดยบริเวณยอดเขาจะเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ ซึ่งมีต้นสนเขาขนาดใหญ่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ส่วนทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นภูเขาหินปูน ความสูงประมาณ 300-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยดอยผาจี่ ดอนผาขัดห้าง ดอยปูโมะ และดอยแปรหลวง โดยมีดอยผาจี่ เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,027 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝน และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝนเริ่มกลางเดือนพฤษภาคม-กันยายน และมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน ฤดูหนาวเริ่มเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก ชิงชัง มะกอกป่า ยมหิน รกฟ้า กระโดน ตะเคียนทอง กระบาก เต็ง รัง เหียง สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น

ส่วนสัตว์ป่านั้นเนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตภูเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก เช่น เสือโคร่ง กระทิง หมีควาย กวางป่า เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า จำพวกนกได้แก่ เหยี่ยว นกฮูก นกกระปูด นกเค้าแมว กบและปลาชนิดต่างๆ

น้ำตกแม่วะ
อยู่ในเขตพื้นที่บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บริเวณโดยรอบของน้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยภูเขาสูงชัน มีดอยแปลหลวง เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกนี้ และจะไหลลงสู่แม่น้ำวังในที่สุด น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วย น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วย น้ำตกชั้นต่างๆ ทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความงามแบบต่างๆ กัน มีทางเดินขึ้นไปถึงแค่น้ำตกชั้นที่ 8 สภาพเส้นทางระหว่างน้ำตกชั้นที่ 1-4 ระยะทาง 700 เมตร เดินได้สะดวก จากนั้นทางเริ่มสูงชันขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 8 รวมระยะทาง 2.2 กิโลเมตร สำหรับน้ำตกชั้นที่ 9 มีชื่อว่า ตาดหลวง มีความสูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนหน้าผาจากน้ำตกชั้นที่ 8 ขึ้นไปอีกไกลจึงจะถึง

การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เมื่อผ่านอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ไปถึงประมาณกิโลเมตรที่ 500 จะมีทางแยกเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านทางแยกนี้ไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.1 (น้ำตกแม่วะ) น้ำตกอยู่ห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร นอกจากนี้ยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินขึ้นเขาผ่านป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ แล้วเดินขึ้นสันเขาผ่านจุดชมทิวทัศน์ไปจนพบกับน้ำตกชั้นที่ 8 รวมระยะทางประมาณ 3.8 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการเดินชมป่าเปลี่ยนสีในช่วงฤดูแล้ง

ถ้ำพระเจดีย์
อยู่ในเขตท้องที่บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลางภายในถ้ำมีหินงอกรูปทรงเจดีย์อยู่บนพื้น และรูปอ่างเก็บน้ำเป็นชั้นๆ ราษฎรบ้านน้ำดิ[ได้ร่วมกันพัฒนาบริเวณถ้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำหมู่ บ้าน บริเวณใกล้เคียงกับถ้ำพระเจดีย์ ยังมีถ้ำช้างและถ้ำเล็กถ้ำน้อยอีกหลายแห่ง ซึ่งถ้ำเหล่านี้อยู่ห่างจากบ้านน้ำดิบประมาณ 3 กิโลเมตร

ถ้ำน้ำผ่าผางาม
อยู่ในเขตท้องที่บ้านวังสำราญ ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ มีทางวกไปวนมาและมีความลึกมาก ภายในถ้ำมีน้ำไหลผ่าน และมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามตระการตา

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่วะ
หมู่ 2 ต.แม่วะ อ. เถิน จ. ลำปาง 52230
โทรศัพท์ 0 9556 1265

การเดินทาง
รถยนต์
เดินทางจากจังหวัดลำปางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) สายจังหวัดลำปาง-ตาก ระหว่างกิโลเมตรที่ 498-499 จะมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร (บริเวณทางแยกเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแม่วะวิทยา) นอกจากนี้บริเวณทางทิศเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีอาณาเขตจดทางหลวง จังหวัดหมายเลข 1048 จากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

อุทยานแห่งชาติดอยจง/ Doi Chong National Park

ข้อมูลทั่วไป
หากผ่านไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงรอยต่อระหว่างอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กับอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นักเดินทางจะมีโอกาสชื่นชมกับป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่ปกคลุมหนาแน่นสอง ฟากถนนยิ่งช่วงปลายฤดูหนาว ป่าผืนนี้จะยิ่งงดงามด้วยต้นไม้ที่พากันเปลี่ยนสีก่อนทิ้งใบร่วงในหน้าแล้ง ป่าผืนนี้เป็นป่าผลัดใบที่ยังคงความสมบูรณ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และอยู่ภายในพื้นที่อนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติดอยจง มีพื้นที่ประมาณ 350,000 ไร่ หรือ 560 ตารางกิโลเมตร อยู่ในท้องที่อำเภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

กรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1060/2539 ให้ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าท้องที่อำเภอสบปราบ อำเภอเถินและอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และพื้นที่ป่าท้องอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาสูง 1,339 เมตรจากระดับน้ำทะเล คือ ยอดดอยจง มีทัศนียภาพที่สวยงามมีสภาพป่า เบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาขนาดใหญ่เล็ก หลายลูกสลับซับซ้อน เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิด ลำห้วยหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดลำปางและยังเป็นแหล่งต้นน้ำสำหรับอ่างเก็บ น้ำหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำแม่ปราบ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปู อ่างเก็บน้ำแม่ยอง สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหิน มีแร่รัตนชาติ สังกะสี หินแกรนิต หินอ่อนอยู่โดยทั่วไป

ลักษณะภูมิอากาศ
ในพื้นที่ระดับต่ำตามเชิงเขามีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคเหนือมีอุณหภูมิต่ำสุด 10oC อุณหภูมิสูงสุด 43oC ส่วนสภาพอากาศยอดเขาอุณหภูมิต่ำแตกต่างจากอากาศในพื้นที่ราบ มีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 4oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ 894 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่า ประกอบด้วยป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีสัตว์ป่าที่พบหลายชนิด เช่น หมีควาย เก้ง ลิงชนิดต่างๆ หมูป่า กระแต กระรอก พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ เป็นต้น

ดอยจง
เป็นที่ราบกว้างซึ่งมีป่าสนเขาขึ้นกระจายเป็นกลุ่มๆ และมีหน้าผาเป็นจุดชมทิวทัศน์อยู่หลายแห่งสามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งยามดวง อาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าในยามเช้าและลับขอบฟ้าในยามเย็น นอกจากนี้บนดอยจงยังพบกล้วยไม้จำนวนมาก โดยเฉพาะฟ้ามุ่ยซึ่งมีสีงดงามแปลกกว่าฟ้ามุ่ยในพื้นที่อื่น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีเส้นทางเดินขึ้นสู่ยอดดอยจงระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร สภาพทางค่อนข้างชัน ใช้เวลาเดินขึ้นราวครึ่งวัน ผู้สนใจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง

อ่างเก็บน้ำต่างๆ
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ตั้งอยู่โดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติ มีทัศนียภาพสวยงามเป็นอ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่อาบ
กิจกรรม :ชมทิวทัศน์

น้ำตกและถ้ำ
นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติดอยจงยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นอีก เช่น ถ้ำผาชัน น้ำตกตาดปู่หล้า น้ำตกธารมะไฟ และน้ำตกแม่แฮด

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยจง
หมู่ 6 ต.นายาง อ. สบปราบ จ. ลำปาง 52170

การเดินทาง
รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง การเดินทางเริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ลงไปทางใต้ประมาณ 54 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอสบปราบ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการสายบ้านหล่าย – บ้านแก่น เมื่อถึงบ้านนาไม้แดง จากถนนพหลโยธิน ประมาณ 8 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจง รวมระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจงประมาณ 68 กิโลเมตร

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านสามารถนำเต็นท์และอาหารไปเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

บ่อน้ำร้อนขนายใหญ่

บ่อน้ำร้อนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยาน มีพื้นที่ราว 1 ไร่เศษ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ น้ำพุร้อนมีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ อุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียสบริเวณใกล้เคียงมี ห้องบริการอาบน้ำแร่มี 11หลังตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ อย่างสวยงามค่าบริการอาบน้ำแร่แบบแช่ 20 บาทต่อ 20 นาที ค่าบริการห้องอาบน้ำแร่แบบตัก 5 บาท ต้อง นำผ้าเช็ดตัวไปเอง เปิดบริการถึง 17.00 ทุกวัน น้ำตกแจ้ซ้อน อยู่ถัดจากบ่อน้ำร้อนขึ้นไป 1 กิโลเมตร เป็น ธารน้ำตกที่มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสาย มีทั้งสิ้น 6 ชั้น มีต้นกำเนิดจาก ขุนห้วยแม่มอน ไหลผ่านหุบเขาสูง ชัน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีก 2 แห่ง คือน้ำตกแม่มอน และน้ำตกแม่ขุน ค่าธรรมเนียมเข้าไปในเขตอุทยาน ฯ รายบุคคลรายละ 5 บาท ถ้ามากับรถคิดเหมาเป็นคัน รถยนต์คันละ 20 บาท รถทัวร์คันละ 200 บาท การ เดินทาง ใช้เส้นทางสายลำปาง-วังเหนือ (ทางหลวงหมายเลข 1035) ถึงกิโลเมตรที่ 58-59 มีป้ายขนาดใหญ่ บอกทางเข้าอุทยานฯ เป็นระยะทางอีก 17 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอด

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จ.ลำปาง

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูงและเป็นแหล่งที่ดำเนินงานตามแนวพระราชดำรัสในการใช้พลังงานน้ำธรรมชาติมาประยุกต์การดำเนินงานอย่างสอดคล้องเป็นประโยชน์และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเมืองปาน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเนื้อที่ประมาณ 768 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลำปางและเชียงใหม่ ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ

- บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยา มีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ จำนวน 9 บ่อ
ตั้งอยู่รวมกันในบริเวณพื้นที่ที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 ไร่ ภายในพื้นที่มีโขดหินน้อยใหญ่กระจัดกระจาย
อยู่ทั่วไป และมีไอน้ำลอยกรุ่นขึ้นมาจากบ่อปกคลุมรอบบริเวณ น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส
เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ 17 นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติ
มันอร่อย ส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า

- น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่กำเนิดจากลำน้ำแม่มอญ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสาย ไหล
ตกลงมาเป็นชั้น ๆ มี 6 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 1 กิโลเมตร มีทางเดินไปสะดวกและมามารถเดินจาก
บ่อน้ำพุร้อนไปถึงน้ำตกได้

- น้ำตกแม่มอญ เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลแรงจากชะง่อนผาสูงลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง น้ำจะตกลมาเป็นช้น ๆ สวยงาม
ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 5 กิโลเมตร

- น้ำตกแม่ขุน อยู่ใกล้กับน้ำตกแม่มอญ มีลักษณะเป็นน้ำตกสายยาว สูงประมาณ 100 เมตร ไหลลงมาบรรจบ
กับน้ำตกแม่มอญ ต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานฯ 5 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำ
ทาง

- ถ้ำผางาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังเหนือ 8 กิโลเมตร อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ แจ้ซ้อน 3 (ผางาม) หน่วย
นี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 60 กิโลเมตร มีถ้ำที่สามารถเข้าไปศึกษาและท่องเที่ยวได้ เช่น ถ้ำฟางาม ถ้ำน้ำ
ถ้ำหม้อ เป็นต้น

- ชมดอกกระเสี้ยวบาน ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ของทุกปี ดอกเสี้ยวจะบานเต็มผืนป่า นักท่องเที่ยว
สามารถขับรถชมดอกเสี้วบานได้ตามเส้นทางแจ้ซ้อน-บ้านป่าเหมี่ยง เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร

- แอ่งน้ำอุ่น ตั้งอยู่ติดกับบ่อน้ำพุร้อน เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของน้ำพุร้อนและน้ำเย็นที่มาจาก
น้ำตกแจ้ซ้อนทำให้เกิดเป็นน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิเหมาะแก่การแช่อาบ

- ห้องอาบน้ำแร่ มีทั้งห้องอาบแช่ สำหรับ 3-4 คน ห้องรวมแบบตักอาบและบ่อสำหรับแช่อาบกลางแจ้ง น้ำแร่ที่ใช้
ต่อท่อโดยตรงมาจากบ่อน้ำพุร้อน มีอุณหภูมิน้ำแร่ประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถใช้แช่อาบได้ ประ
โยชน์ของการอาบน้ำแร่คือ ช่วยบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยรักษา
โรคผิวหนังบางชนิดได้ เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูก แต่น้ำแร่จาก
ที่นี่ไม่สามารถใช้ดื่มได้ เพราะมีแร่ธาตุบางชนิดสูงกว่ามาตรฐาน

ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดย
เส้นทางจะผ่านจุดสื่อความหมาย 19 จุด ผ่านสภาพป่าและพรรณไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด รวมถึงอาจพบสัตว์หายาก
อย่างนกเขนเทาหางแดงและปลาปุงแห่งลำห้วยแม่มอญ เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับเยาวชนผู้สนใจศึกษาพรรณไม้
ต่าง ๆ เช่น ต้นก๋ง กวาวเครือ หรือ ยางปาย ศึกษาระบบนิเวศน์ เช่น วงจรชีวิตหนอนรถด่วน และสภาพภูมิศาสตร์
โดยรอบลานน้ำพุร้อน เช่น อะไรทำให้เกิดบ่อน้ำพุร้อน ทำไมน้ำพุร้อนทำให้ไข่แดงสุกแต่ไข่ขาวเหลว หรือจั๊กจั่น
น้ำแร่ เป็นอย่างไร (จั๊กจั่นน้ำแร่จะมีชุกในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) แอ่งอาบน้ำอุ่นนี้เกิดจากน้ำร้อนในบ่อน้ำ
พุร้อนมาบรรจบกับน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ซ้อน สำหรับอุทยานฯ ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเองจาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งจะ
อยู่ในเส้นทางนี้ด้วย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 60 กิโลวัตต์ ผู้สนใจสามารถขับรถขึ้นไปดูได้ ระยะทางประมาณ
5 กิโลเมตร แต่ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะสภาพทางค่อนข้างเละและชัน

- เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก ระยะทางประมาณ 3.7 กิโลเมตร เป็นเส้นทางวงรอบเลียบริมห้วยแม่เปียก
ผ่านจุดสื่อความหมาย 16 จุด ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางจะได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ การ
นำทรัพยากรจากป่ามาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันยาง สารพัดประโยชน์ที่นำมาใช้กับเครื่องยนต์จนถึงทำน้ำมันใส่แผล
ไผ่ข้าวหลาม ที่มีเปลือกบางเผาง่าย เมี่ยง(ชา)ที่ใบอ่อนจะนำมานึ่งแล้วหมักทำเป็นเมี่ยงนิยมรับประทานเป็นของว่าง
ใช้ต้อนรับแขกทางภาคเหนือของไทย ยอดอ่อนนำมาอบแห้งแล้วชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา ซึ่งเมี่ยง(ชา)จะมีสารคา
เฟอีนออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกาแฟ แหย่ง ใบใช้ห่ออาหารแทนใบตอง หรือนำลำต้นไปตากให้แห้งแล้วสานเป็นเสื่อ
หรือแม้แต่การสร้าง ฝายน้ำล้น ที่นำไปผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้ภายในอุทยานฯ ระหว่างเส้นทางถ้าโชคดีอาจพบ
หมูป่า และเต่าปูลู ที่มีลักษณะไม่เหมือนเต่าทั่วไปและกำลังจะสูญพันธ์ เต่าปูลูมีหางยาวหัวและขาไม่สามารถหดใน
กระดองเหมือนเต่าทั่วไป มีความสามารถในการปีนป่ายและกินสัตว์จำพวกปูหรือปลาเป็นอาหาร ในเส้นทางจะพบ
น้ำตกวังไฮ และน้ำตกแม่เปียกซึ่งน้ำตกแม่เปียกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 3 กิโลเมตร มีชั้นน้ำตก 3 ชั้นและชั้น
ที่ 3 จะมีความสวยงามที่สุดโดยมีความสูงประมาณ 100 เมตร ด้านล่างบริเวณแอ่งรองรับน้ำจากน้ำตกจะมีกล้วย
ป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปทำให้มีความงามไปอีกมุมมองหนึ่ง

สถานที่พัก อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนนอกจากจะได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ปี 2543
ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดเยี่ยมในด้านการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานฯ ได้อย่าง
กลมกลืนกับธรรมชาติแล้ว สภาพแวดล้อมภายในอุทยานฯ ยังตกแต่งได้อย่างสวยงามไม่แพ้รีสอร์ทเอกชน เหมาะ
สำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวแบบครอบครัว สามารถเที่ยวได้ตลอดปี ฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด บ้านพักในอุทยาน
มีจำนวน 11 หลัง พักได้หลังละ 3-15 คน ราคา 900-3,600 บาท ค่ายพักแรม พักได้ 40 คน ราคา 4,000 บาท
อุทยานฯ มีเต็นท์ให้นักท่องเที่ยวเช่า พักได้ 2-5 คน ราคา 150-225 บาท หรือนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองเสีย
ค่าสถานที่กางเต็นท์ คนละ 30 บาท/คืน ในอุทยานฯ ยังมีร้านอาหารสวัสดิการบริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ โทร. กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760-2 อุทยานฯ แจ้ซ้อน โทร. 08 9851 3355 9851 หรือ
www.dnp.go.th

การเดินทาง อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด มี
ให้เลือก 2 เส้นทาง คือ

รถยนต์

- จากสนามกีฬาประจำจังหวัดไปตามถนนสายลำปาง-ห้างฉัตร (สายเก่า) เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านน้ำโท้ง
ไปตามถนนสาย 1157 เส้นลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน ไปประมาณ 55 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย 1287 เมือง
ปาน-แจ้ห่ม ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 1252 เส้นข่วงกอม-ปางแฟง อีก 11 กิโลเมตร แล้ว
เลี้ยวซ้ายเขาอุทยานฯไปตามถนน รพช. อีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

- จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงหมายเลข 1035 เส้นลำปาง-แจ้ห่ม ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58 เลี้ยวซ้าย
ไปตามทางหลวงหมายเลข 1287 ซึ่งเป็นทางเข้าไปอำเภอเมืองปาน แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยก ใช้ทางหลวงหมายเลข
1252 เส้น ข่วงกอม-ปางแฟน ป่ระมาณ 11กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ ตามถนน รพช. อีก 3 กิโลเมตร ถึง
ที่ทำการอุทยานฯ

- เส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1006 ผ่านอำเภอสันกำแพง แล้วเข้าสู่ถนนสานถ้วย
แก้ว-บ้านแม่กำปอง ผ่านบ้านป่าเหมี้ยง ถึงที่ทำการอุทยานฯ

รถโดยสารประจำทาง มีคิวรถโดยสารประจำทางสายลำปาง-แจ้ซ้อนถึงที่ทำการอุทยานฯ อยู่บริเวณถนนตลาด
เก่า ราคา 50 บาท ออกจากลำปางเวลา 08.00-18.00 น. หรือเหมารถประมาณ 350 บาท